วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 2

               รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย          อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด


วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)

  • เนื้อหาที่เรียนในสัปดาห์นี้คือ เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองผ่านการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะอย่างอิสระ
ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ คือ 
  • ขีดจำกัดความสามารถ
  • เทคนิคและวิธีการคิดค้น
  • การเคลื่อนไหวของสว่นต่าง ๆ
  • เรียนรู้และชอบ
  • เข้าใจประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
  • พัฒนาการทางสร้างสรรค์

จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
  • เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
  • พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้เคลื่อนไหวได้อย่างสัมพันธ์กัน
  • ฝึกทักษะการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  • ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย  เสียง-ทำนองเพลง,เสียงปรบมือ,เสีนงเคาะไม้,กลอง,กรับ,กลองรำมะนา,กลอง,คำคล้องจ้อง เป็นต้น
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน มี 2ประเภท  ประกอบด้วย 1.การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ 2.การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ  ควรเริ่มจากการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระไม่ควรมีระเบียบหรืือวิธีที่ยุ่งยากนักเปิดโอกาศให้เด็กค้นหาวิธีเลคื่อนไหวแบบที่เขาต้องการทั้งที่เป็นรายบุคคล/คู่/กลุ่ม ตามลำดับ เช่น การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ,การเคลื่อนไหวแบบอุปกรณ์ / ประกอบเพลง
แนวทางการประเมินการจัดกิจกรรม 
1.สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
2.สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่โดยไม่ซ้ำกัน
3.สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
4.สังเกตการแสดงออก
5.สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม


วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)

  • จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ได้สั่งการบ้านไว้ คือ เต้นเพลงประกอบจังหวะที่ตนเองเลือกเพลง 1 เพลง โดยนักศึกษาเต้นจนถึงท่อนเพลงซ้ำของเพลงนั้น ๆ ที่เตรียมมา การเรียงลำดับการเต้น คือ อาจารย์จะเลือก 1 คนแรกออกมาเต้น เมื่อคนแรกเต้นเสร็จให้เลือกเพื่อนออกมาเต้นตามอิสระของตนเองที่เลือกใครออกมาเต้นให้เพื่อนเต้นหน้าชั้นเรียน
ภาพบรรยากาศค่ะ^^
  • ต่อมาเมื่อเต้นจนครบทุกคนแล้วอาจารย์ได้พานักศึกษาเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน แบบคงที่ และเคลื่อนที่ โดยให้จัดแถวเป็นวงกลมและทำท่างตามคำสั่งที่กำหนดซึ่งก่อนทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาหาพื้นที่ของตนเองหรือบ้านของตนเองให้เพียงพอต่อการเคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้แขน/ขา ชนกับเพื่อน
ความรู้ที่ได้รับที่ได้จากเรียนทั้ง 2 วัน
  • การเคลื่อนไหวที่เป็นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
  • แนวทางที่เราจะสามารถประเมินเด็กที่สามารถทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกายให้มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวร่างกายในแต่ละส่วนต่าง ๆ
  • การเต้นประกอบจังหวะสำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องมีท่าทางที่ยาก สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กๆน้อยๆเพื่อให้เด็กได้ใช้ร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้ใช้งานก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัย
  • การหาพื้นที่ส่วนตัวหรือบ้านส่วนตัวของเด็กในการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายในเด็กปฐมวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  

  • ในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กสามารถไปประยุกต์ใช้คือการเริ่มทำกิจกรรมต้องให้เด็กหาพื้นที่ส่วนตัวหรือบ้านเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่โดยพื้นที่นั้นสามารถยืดขา ยืดแขน แล้วไม่ชนกับเพื่อน เพื่อป้องการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างทำกิจกรรม
  • หากเกิดเหตุการณ์ที่เด็กทะเลาะกันหรือมีการแกล้งกันจนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เราควรแก้ปัญหาด้วยการพาเด็กแยกให้ยืนอยู่คนละจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตลอดกิจกรรมโดยเฉพาะการเต้นประกอบจังหวะเพลง มีความสุขและหัวเราะ ในการแสดงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้มที่เพื่อน ๆ ได้ฝึกฝนเพื่อมาทำการแสดงในวันนี้
ประเมินเพื่อน เพื่อนสนุกกับกิจกรรมและร่วมไม้ร่วมมือในการแสดงออกของการแสดงในวันนี้
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ทั้ง 2 มีความตรงต่อเวลา สำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอนในวันนี้ทำให้ทุกอย่างเป็นอย่างราบรื่น เป็นระบบระเบียบแต่ไม่ความเคียดในการเรียนการสอนของอาจารย์เลยค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 1

        รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย            อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด



วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)

 เย้ได้ใบปั๊มแล้ว(0+^)
  •  สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่2ของการเรียนการสอนของรายวิชาอาจารย์ได้แจ้งเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนเพิ่มคืออาจารย์กฤตธ์ ตุ๊หมาด ซึ่งจะดูแลและให้ความรู้ในส่วนที่เป็นทฤษฎียกหน้าที่ปฏิบัติให้อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน ต่อมาอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่จะต้องเรียน เกณฑ์การให้คะแนน ข้อตกลงภายในห้องเรียน
  • หลังจากที่ฟังคำอธิบายจนแล้วเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษายืนเป็นรูปวงกลมเพื่อเตรียมความพร้อมในกิจกรรมขั้นต่อไปคือ การฝึกบริหารสมอง เมื่อมีสติเรียบร้อยแล้วต่อไปเป็นการทำกิจกรรมจากการเต้น T26 จากสื่อวิดีโอโดยครูนกเป็นผู้นำเต้น
  • กิจกรรมการเต้น T26 ท่าสัตว์ จากความคิดสร้างสรรค์โดยนักศึกษา
  • กิจกรรมการเต้น T26 จากท่าที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยนักศึกษา   
    
                                                         ครูนกเป็นผู้นำเต้น
                                                   คุณเบญ ชราทิปจากภาพยนต์ป้าแฮ็ปปี้


ระหว่างที่พัก 5 นาที อาจารย์ได้เปิดวิดีโอที่จัดทำเพื่อเชิดคุณครูจาก 7 


*การบ้านในสัปดาห์หน้าคือ เต้นประกอบจังหวะ เพลงที่ตนเองสนใจ
ต่อมาเป็นการปั๊มการมาเรียนรวมถึงได้รางวัลดาวเด็กดีด้วย ^><^ในช่วงที่มีการพักมีการร้องเพลงและโชว์ลูกคอจากภภาพวิว สิริกัลยา การเต้นที่สวยเด็ดจากตันหยง ภทรธร และดิฉันออกไปร้องเพลงแปรงคี่......คริคริ

ความรู้ที่ได้รับ

  • ความคิดริเริ่มจากท่าทางจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวในการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • นำเอาเพลงประกอบจังหวะ T 26 ดัดแปลงเป็นการออกกำลังกายเพื่อบูรณาการให้เด็กปฐมวัย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  
         การเคลื่อนไหวจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวสามารถทำให้ร่างกายของเราออกกำลังกายในส่วนต่าง ๆ ได้ ความคิดสร้างสรรค์ของท่าทางที่เต้นประกอบจังหวะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายโดยการประกอบจังหวะให้กับเด็กปฐมวัยได้เคลื่อนไหวร่างกายในส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาด้านร่างกายในลำดับต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง สามารถร่วมทำกิจกรรมตามที่อาจารย์ได้พาดำเนินกิจกรรมได้ เข้าใจถึง การเคลื่อนไหวที่สามารถเคลื่อนไหวที่หลากหลายให้กับเด็กปฐมวัยนอกจากการที่ให้เด็กวิ่ง/เดิน
ประเมินเพื่อน เพื่อนสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ร่วมกันจัดแถวเป็นวงกลมและร่วมกันเต้นจากกิจกรรมประกอบจังหวะอย่างเต็มที่และมีความคิดสร้างสรรค์ท่าทางที่แปลกใหม่ให้ทุกคนสลับกันเคลื่อนไหวได้อย่างดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เป็นกันเองกับนักศึกษาตลอดโดยอาจารย์ได้ออกมาร่วมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับนักศึกษา