วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึการเรียนการสอนครั้งที่ 4

       รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย             อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันจันทร์ ที่ กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.

(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)

  • การเรียนในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอเกี่ยวกับทฤษฏีที่มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ที่พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 


ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์ (กลุ่มนางสาวสุดารัตน์)

ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
 1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 
 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ
 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางเคลื่อนไหว
 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม การปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์

 

บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น
ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด (กลุ่มนางสาววรัญยา)
กิลฟอร์ด ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม  หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
2. ความคิดคล่องแคล่ว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำเป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
 2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
 2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก  เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
  2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. ความคิดยืดหยุ่น คือ ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
  3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที  เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ
  3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลงหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน
4. ความคิดละเอียดละออ คือ ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น  
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี พอล ทอร์แรนซ์ นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้ 
1. ขั้น เริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจน บางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว

 

      2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
 4. ขั้น ปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติม เสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์

 

ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีของอิริคสัน (กลุ่มนางสาวภาวิดา)
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ต่อไปนี้
1. ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้ว่างใจ ซึ่งเป็นขั้นวัยทารก อิริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการ ในวัยต่อไปนี้ 
2.ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติมโตของร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตนเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น
3.ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อิริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริ่เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเด็ดจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
*สามขั้นแรกเป็นครั้งที่พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่าประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1.กระบวนการดึงดูดความสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กสังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดความสนใจ ที่จะเลียนแบบ ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่สลับซับซ้อน
 2.กระบวนการคงไว้ คือกระบวนการบันทึกรหัสเป็นความทรงจำ การที่เด็กจะต้องมาความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้หรือได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
3.กระบวนการแสดงออก คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4.กระบวนการจูงใจ คือกระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง
 ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์ไดร์ การเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ (กลุ่มนางสาวชื่นนภา)
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์  เช่น ร่างกายพร้อมที่จะทำกิจกรรม
2.กฎแห่งการฝึกหัด  เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
3.กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ ซึ้งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและพอใจ
ทฤษฎีของเพียเจต์
 เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการเรียนรู้ เป็นสื่อการกระตุ้นความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสการเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ 



วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)







ความรู้ที่ได้รับ

·          บางกิจกรรมต้องดูความพร้อม สามารถยกเลิกก่อนเวลาที่กำหนดในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเตรียมร่างกายควรย้ำกับเด็กบ่อย ๆ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจถึงการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ นั้นได้ด้วยตนเองการหาพื้นที่ในการทำกจิกรรม เข้าใจการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทั้งซ้ายและขวา และการเรียนรู้ถึงการทำงานของตนเองอีกด้วย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  


·         หากเกิดเหตุการที่เด็กทะเลาะกันหรือมีการแกล้งกันจนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เราควรแก้ปัญหาด้วยการพาเด็กแยกให้ยืนอยู่คนละจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน

·         สามารถนำภาพทดสอบการทำงานของสมองนำไปประยุกต์ในการทำงานของสมองจากเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้จากปริศนาที่ไม่ยากมากนัก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง มีการจดบันทึกเพื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจอีกครั้งเมื่อตนเองลืมเลือนไป
ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ มีความตรงต่อเวลา การเรียนการสอนเป็นไปอย่า่งขั้นตอน มาตรงเวลาและปล่อยตรงเวลาค่ะ


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3

          รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย                 อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด        
   วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.

(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
  • เนื้อหาที่เรียนในสัปดาห์นี้คือ เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยและสมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเคลื่อนไหวตามลักษณะของการเคลื่อนไหวพื้นฐานไว้ดังนี้ คือ
1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การคลาน เป็นต้น
 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ ได้แก่ การดัน  การบิด  การเหยียด เป็นต้น
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
 การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี เป็นต้น
การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ การหยุด เป็นต้น
Sapore and Mitehell, 1961  ได้แบ่งการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลำตัว เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การว่ายน้ำ เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวเสริม หมายถึง มีพัฒนาภายหลังจากการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานส่วนมากจะต้องอาศัยทักษะที่ละเอียดอ่อน เช่น การพูด การพิมพ์ดีด การสีไวโอลิน เป็นต้น

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
     เมื่อได้ยินจังหวะดังเด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร หรือการกระโดดของกบ การควบม้า เป็นต้น
เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบา ๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน เป็นต้น

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี
การเล่นเกมต่างๆ ของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย 
การเต้นรำพื้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก เพลงช่างทำรองเท้า 

เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
     เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิด และสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา มือให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันตามจังหวะ
การรู้จักส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย
    การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว เด็กจะต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด ตนเองสามารถเคลื่อนไหวแต่ละส่วนได้อย่างไร ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน
บริเวณและเนื้อที่
    การเคลื่อนตัวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อาจจะเป็นบุคคลหรือเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม เวลาที่เด็กเคลื่อนไหวเด็กสามารถจัดระยะระหว่างตนเองกับผู้อื่น โดยไม่ให้ชนกับผู้ใดและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีอิสระในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะมีเล็กบ้าง ใหญ่บ้างเด็กจะต้องรู้จักใช้เนื้อที่ให้เต็มและได้จังหวะการเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ
ทิศทางการเคลื่อนไหว
   ทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง) 
การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
การเตรียมร่างกาย 
1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด
2. ฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่


—      

สมองของมนุษย์แบ่งการทำงานเป็น 2 ซีก ได้แก่ ซีกซ้าย-ซีกขวา โดยการทำงานของสมองซีกซ้ายเรียนรู้โดยตรระกะ,ภาษา ใช้เหตุผล และตัวเลข สมองซีกขวาใช้ความรู้สึก ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น รายละเอียดดังภาพ  





ภาพทดสอบการทำงานของสมอง
คุณเห็นภาพใดเป็นลำดับแรก

ฝึกการทำงานของสองทั้ง2ซีก จากการอ่านและบอกสีที่มีความตรงข้ามกัน


ความรู้ที่ได้รับ

  •  บางกิจกรรมต้องดูความพร้อม สามารถยกเลิกก่อนเวลาที่กำหนดในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรม
  •  การเตรียมร่างกายควรย้ำกับเด็กบ่อย ๆ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจถึงการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ นั้นได้ด้วยตนเอง
  • การหาพื้นที่ในการทำกจิกรรม
  • เข้าใจการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทั้งซ้ายและขวา และการเรียนรู้ถึงการทำงานของตนเองอีกด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  

  •          หากเกิดเหตุการที่เด็กทะเลาะกันหรือมีการแกล้งกันจนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เราควรแก้ปัญหาด้วยการพาเด็กแยกให้ยืนอยู่คนละจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน
  •          สามารถนำภาพทดสอบการทำงานของสมองนำไปประยุกต์ในการทำงานของสมองจากเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้จากปริศนาที่ไม่ยากมากนัก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง มีการจดบันทึกเพื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจอีกครั้งเมื่อตนเองลืมเลือนไป
ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ มีความตรงต่อเวลา การเรียนการสอนเป็นไปอย่า่งขั้นตอน มาตรงเวลาและปล่อยตรงเวลาค่ะ