วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 3

          รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย                 อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด        
   วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.

(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
  • เนื้อหาที่เรียนในสัปดาห์นี้คือ เรื่องการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยและสมองกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเคลื่อนไหวตามลักษณะของการเคลื่อนไหวพื้นฐานไว้ดังนี้ คือ
1. การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
 การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  การคลาน เป็นต้น
 การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ ได้แก่ การดัน  การบิด  การเหยียด เป็นต้น
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
 การทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี เป็นต้น
การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ การหยุด เป็นต้น
Sapore and Mitehell, 1961  ได้แบ่งการเคลื่อนไหวออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน หมายถึง การเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลำตัว เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การว่ายน้ำ เป็นต้น
2. การเคลื่อนไหวเสริม หมายถึง มีพัฒนาภายหลังจากการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานส่วนมากจะต้องอาศัยทักษะที่ละเอียดอ่อน เช่น การพูด การพิมพ์ดีด การสีไวโอลิน เป็นต้น

ประเภทของกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ แบ่งออกเป็น
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฏิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3. ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4. ประเภทฝึกจินตนาการจากคำบรรยาย
5. ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
     เมื่อได้ยินจังหวะดังเด็กอาจนึกถึงการเดินแถวแบบทหาร หรือการกระโดดของกบ การควบม้า เป็นต้น
เมื่อได้ยินเสียงจังหวะที่เบา ๆ และช้าๆ เด็กอาจนึกถึงการเคลื่อนไหวของใบไม้ที่ต้องลม นกกำลังบิน เป็นต้น

การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
การเล่นเกมประกอบเพลง เช่น เก้าอี้ดนตรี
การเล่นเกมต่างๆ ของไทย เช่น มอญซ่อนผ้า งูกินหาง รีรีข้าวสาร
การเคลื่อนไหวประกอบเพลง (การร้องเพลงประกอบท่าทาง) เช่น การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระต่าย 
การเต้นรำพื้นเมือง เช่น การเต้นรำของชาวพื้นเมืองเดนมาร์ก เพลงช่างทำรองเท้า 

เพลงที่มีท่าทางประกอบและการเล่นประกอบเพลง
     เป็นการเคลื่อนไหวที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้หัดรวบรวมความคิด และสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ เด็กรู้จักบังคับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น นิ้วมือ แขน ขา มือให้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันตามจังหวะ
การรู้จักส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย
    การเตรียมร่างกายให้พร้อมทุกส่วน เพื่อให้มีความคล่องตัว เด็กจะต้องรู้ว่าร่างกายแต่ละส่วนเคลื่อนไหวอย่างไรและมากน้อยเพียงใด ตนเองสามารถเคลื่อนไหวแต่ละส่วนได้อย่างไร ร่างกายส่วนไหนเรียกว่าอะไร อยู่ตรงไหน
บริเวณและเนื้อที่
    การเคลื่อนตัวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อาจจะเป็นบุคคลหรือเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม เวลาที่เด็กเคลื่อนไหวเด็กสามารถจัดระยะระหว่างตนเองกับผู้อื่น โดยไม่ให้ชนกับผู้ใดและเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีอิสระในการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจจะมีเล็กบ้าง ใหญ่บ้างเด็กจะต้องรู้จักใช้เนื้อที่ให้เต็มและได้จังหวะการเคลื่อนไหวมี 3 ระดับ คือ สูง กลาง ต่ำ
ทิศทางการเคลื่อนไหว
   ทิศทางไปข้างหน้า ไปข้างหลัง ไปข้างๆ หรือเคลื่อนตัวไปรอบทิศ (คือหมุนตัวไปทุกทิศทุกทาง) 
การทำจังหวะแบ่งออกเป็น 4 วิธี
1. การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
2. การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
3. การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะ
4. การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
การเตรียมร่างกาย 
1. ให้รู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายว่าชื่ออะไร อยู่ตรงไหน และมีส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวได้ มาก น้อย เพียงใด
2. ฝึกให้เด็กรู้ตัวว่าร่างกายหรืออวัยวะส่วนใดกำลังเคลื่อนไหวหรือทำอะไรอยู่


—      

สมองของมนุษย์แบ่งการทำงานเป็น 2 ซีก ได้แก่ ซีกซ้าย-ซีกขวา โดยการทำงานของสมองซีกซ้ายเรียนรู้โดยตรระกะ,ภาษา ใช้เหตุผล และตัวเลข สมองซีกขวาใช้ความรู้สึก ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น รายละเอียดดังภาพ  





ภาพทดสอบการทำงานของสมอง
คุณเห็นภาพใดเป็นลำดับแรก

ฝึกการทำงานของสองทั้ง2ซีก จากการอ่านและบอกสีที่มีความตรงข้ามกัน


ความรู้ที่ได้รับ

  •  บางกิจกรรมต้องดูความพร้อม สามารถยกเลิกก่อนเวลาที่กำหนดในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรม
  •  การเตรียมร่างกายควรย้ำกับเด็กบ่อย ๆ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจถึงการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ นั้นได้ด้วยตนเอง
  • การหาพื้นที่ในการทำกจิกรรม
  • เข้าใจการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทั้งซ้ายและขวา และการเรียนรู้ถึงการทำงานของตนเองอีกด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  

  •          หากเกิดเหตุการที่เด็กทะเลาะกันหรือมีการแกล้งกันจนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เราควรแก้ปัญหาด้วยการพาเด็กแยกให้ยืนอยู่คนละจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน
  •          สามารถนำภาพทดสอบการทำงานของสมองนำไปประยุกต์ในการทำงานของสมองจากเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้จากปริศนาที่ไม่ยากมากนัก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง มีการจดบันทึกเพื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจอีกครั้งเมื่อตนเองลืมเลือนไป
ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ มีความตรงต่อเวลา การเรียนการสอนเป็นไปอย่า่งขั้นตอน มาตรงเวลาและปล่อยตรงเวลาค่ะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น