วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึการเรียนการสอนครั้งที่ 4

       รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย             อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันจันทร์ ที่ กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.

(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)

  • การเรียนในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอเกี่ยวกับทฤษฏีที่มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 4 กลุ่ม ที่พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 


ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์ (กลุ่มนางสาวสุดารัตน์)

ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
 1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว  เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด 
 2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ
 3. พฤติกรรมทางด้านภาษา จะเป็นการแสดงออกทางหน้าตาและท่าทางเคลื่อนไหว
 4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม การปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะ แวดล้อมและสภาพความเป็นจริง
 ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์

 

บรูเนอร์แบ่งขั้นพัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ขั้นการกระทำ เด็กเรียนรู้จากการกระทำและการสัมผัส
2. ขั้นคิดจินตนาการหรือสร้างมโนภาพ เด็กเกิดความคิดจากการรับรู้ตามความเป็นจริง และการคิดจากจินตนาการ
3. ขั้นใช้สัญลักษณ์และคิดรวบยอด เด็กเริ่มเข้าใจเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น
ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านอารมณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด (กลุ่มนางสาววรัญยา)
กิลฟอร์ด ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม  หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
2. ความคิดคล่องแคล่ว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำเป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
 2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
 2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก  เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
  2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. ความคิดยืดหยุ่น คือ ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
  3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที  เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ
  3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลงหมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน
4. ความคิดละเอียดละออ คือ ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น  
ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
อี พอล ทอร์แรนซ์ นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น
กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์แบ่งออกได้ 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การพบความจริง (Fact – Finding) ในขั้นนี้เริ่มตั้งแต่ความรู้สึกกังวล มีความสับสน วุ่นวาย เกิดขึ้นในจิตใจ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร จากจุดนี้ก็พยายามตั้งสติ และหาข้อมูลพิจารณาดูว่าความยุ่งยาก วุ่นวาย สับสน หรือสิ่งที่ทำให้กังวลใจนั้นคืออะไร
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา ( Problem – Finding) ขั้นนี้เกิดต่อจากขั้นที่ 1 เมื่อได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว จึงเข้าใจและสรุปว่า ความสับสนวุ่นวายนั้นก็คือ การเกิดปัญหานั่นเอง
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน ( Idea – Finding ) ขั้นนี้ต่อจากขั้นที่ 2 เมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามคิดและตั้งสมมติฐาน และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 4 การแก้ปัญหา ( Solution – Finding) ในขั้นนี้จะพบคำตอบจากการทดสอบสมมติฐานในขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 ยอมรับผลจากการค้นพบ ( Acceptance – finding) ขั้นนี้เป็การยอมรับคำตอบที่ได้จากการพิสูจน์เรียบร้อยแล้ว่าน่าจะแก้ปัญหาให้สำเร็จได้อย่างไร แต่ต่อจากจุดนี้การแก้ปัญหาหรือการค้นพบยังไม่จนตรงนี้ แต่ผลที่ได้จากการค้นพบจะนำไปสู่หนทางที่จะทำให้เกิดแนวคิดหรือสิ่งใหม่ต่อไปที่เรียกว่า New Challent
ได้กําหนดขั้นตอนของความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4 ขั้นดังนี้ 
1. ขั้น เริ่มคิด คือ ขั้นพยายามรวบรวมข้อเท็จจรงิ เรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้าดัวยกันเพื่อหาความกระจ่างในปัญหา ซึ่งยังไม่ทราบว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดและอาจใช้เวลานานจน บางครั้งจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว

 

      2. ขั้นครุ่นคิด คือ ขั้นที่ผู้คิดต้องใช้ความคิดอย่างแต่บางครั้งความคิดอันนี้อาจหยุดชะงักไปเฉยๆเป็นเวลานาน บางครั้งก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีก
3. ขั้นเกิดความคิด คือ ขั้นที่ความคิดจะมองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดใหม่ที่ซ้ำกับความคิดเก่าๆซึ่งมีผู้คิดมาแล้ว การมองเห็นความสัมพันธ์ในแนวความคิดใหม่นี้จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด ผู้คิดไม่ได้นึกฝันว่าจะเกิดขึ้นเลย
 4. ขั้น ปรับปรุง คือ ขั้นการขัดเกลาความคิดนั้นให้หมดจดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายหรือต่อเติม เสริมแต่งความคิดที่เกิดขึ้นใหม่นั้นให้รัดกุมและวิวัฒนาการก้าวหน้าต่อไป ในบางกรณีก่อให้เกิดการประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์

 

ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีของอิริคสัน (กลุ่มนางสาวภาวิดา)
อิริคสันได้แบ่งพัฒนาการของบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น ต่อไปนี้
1. ขั้นความไว้วางใจ-ความไม่ไว้ว่างใจ ซึ่งเป็นขั้นวัยทารก อิริคสันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการ ในวัยต่อไปนี้ 
2.ขั้นความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ-ความสงสัยไม่แน่ใจตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติมโตของร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระพึ่งตนเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น
3.ขั้นการเป็นผู้คิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อิริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริ่เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับเด็กวัยนี้เพราะเด็ดจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ
*สามขั้นแรกเป็นครั้งที่พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูร่าประกอบด้วย 4 กระบวนการ
1.กระบวนการดึงดูดความสนใจ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กสังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดความสนใจ ที่จะเลียนแบบ ควรเป็นกิจกรรมง่ายๆไม่สลับซับซ้อน
 2.กระบวนการคงไว้ คือกระบวนการบันทึกรหัสเป็นความทรงจำ การที่เด็กจะต้องมาความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้หรือได้ยินเก็บเป็นความทรงจำ
3.กระบวนการแสดงออก คือการแสดงผลเรียนรู้ด้วยการกระทำคือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่างๆ
4.กระบวนการจูงใจ คือกระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง
 ทฤษฏีการเคลื่อนไหวทางด้านสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์ไดร์ การเรียนรู้ที่สำคัญด้วยกฎ 3 ประการ (กลุ่มนางสาวชื่นนภา)
1.กฎแห่งความพร้อม การเรียนรู้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมทั้งทางกายและทางใจเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้กล้ามเนื้อและระบบประสาทให้สัมพันธ์  เช่น ร่างกายพร้อมที่จะทำกิจกรรม
2.กฎแห่งการฝึกหัด  เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำซ้ำๆ กันหลายๆครั้ง เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
3.กฎแห่งผล เด็กจะเรียนรู้ ซึ้งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดทักษะ ทำให้เด็กมีความสนุกสนานและพอใจ
ทฤษฎีของเพียเจต์
 เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการเรียนรู้ เป็นสื่อการกระตุ้นความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสการเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ 



วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)







ความรู้ที่ได้รับ

·          บางกิจกรรมต้องดูความพร้อม สามารถยกเลิกก่อนเวลาที่กำหนดในกรณีที่เด็กยังไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมการเตรียมร่างกายควรย้ำกับเด็กบ่อย ๆ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจถึงการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ นั้นได้ด้วยตนเองการหาพื้นที่ในการทำกจิกรรม เข้าใจการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทั้งซ้ายและขวา และการเรียนรู้ถึงการทำงานของตนเองอีกด้วย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  


·         หากเกิดเหตุการที่เด็กทะเลาะกันหรือมีการแกล้งกันจนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้เราควรแก้ปัญหาด้วยการพาเด็กแยกให้ยืนอยู่คนละจุดเพื่อป้องกันปัญหาที่ไม่คาดฝัน

·         สามารถนำภาพทดสอบการทำงานของสมองนำไปประยุกต์ในการทำงานของสมองจากเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้จากปริศนาที่ไม่ยากมากนัก

การประเมินผล

ประเมินตนเอง มีการจดบันทึกเพื่อไว้ศึกษาเพิ่มเติมและทำความเข้าใจอีกครั้งเมื่อตนเองลืมเลือนไป
ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึกทุกครั้งที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ มีความตรงต่อเวลา การเรียนการสอนเป็นไปอย่า่งขั้นตอน มาตรงเวลาและปล่อยตรงเวลาค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น