วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 5

   รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย             อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาดวันจันทร์ ที่ กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)

ความรู้ที่ได้รับ
เรื่องความสามารถทางการคิด
ความสามารถทางการคิด
ความสามารถในการคิดที่จำเป็น ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นทักษะย่อย  ที่มีกระบวนการขั้นตอนการคิดไม่มากเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน แบ่งเป็น
    - ทักษะการสื่อความหมาย
    - ทักษะการคิดที่เป็นแกนสำคัญ
ทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skills)  ความสามารถในการคิดที่มีกระบวนการหรือขั้นตอนมากและซับซ้อน ต้องใช้ทักษะพื้นฐานหลายทักษะผสมผสานกันในการคิด
ลักษณะการคิด   เป็นคุณสมบัติของการคิดที่นำไปใช้ในการดำเนินการคิดควบคู่กับการคิดอื่น เพื่อให้การคิดนั้นๆ มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
กระบวนการคิด   เป็นการคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อช่วยในการคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิด แต่ละกระบวนการคิดจะประกอบไปด้วยขั้นตอนง่ายๆ และในแต่ละขั้นตอนจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิด หรือ ลักษณะการคิดจำนวนมาก
กิจกรรมการคิดที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม
ให้บอกสิ่งต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา  5 นาที
• จงบอกประโยชน์ของก้อนหิน  มาให้มากที่สุด
• จงบอกสิ่งที่มีลักษณะ  “แบน”  ให้มากที่สุด
•  คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ   “”  มีอะไรบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
•  ถ้าคนเราไม่จำเป็นต้องนอน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
•  ถ้าหากยุงตัวโตเท่าคน  อะไรจะเกิดตามมาบ้าง  บอกมาให้มากที่สุด
ข้อตกลงเบื้องต้น  เด็กปฐมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ (สมรรถนะ) ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้ เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนลักษณะการสอบตก สอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าจากช่วงอายุก็ควรปรึกษาแพทย์ต่อไป
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย

สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย 7 ด้าน 419 ตัวบ่งชี้
สมรรถนะ (Competency) F คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
สมรรถนะ 7 ด้าน ประกอบด้วย
(1) การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย     
(2) พัฒนาการด้านสังคม
(3) พัฒนาการด้านอารมณ์                            
(4) พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
(5) พัฒนาการด้านภาษา                    
(6) พัฒนาการด้านจริยธรรม
(7) พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
ด้านที่ 1 การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
1.1 การเคลื่อนไหว
1) การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
2) การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
3) ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
1.2 สุขภาวะทางกาย
1) โภชนาการ
2) สมรรถนะทางกาย
3) ความปลอดภัย
4) การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง
ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านสังคม
1) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
2) การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3) พฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคม
4) การเห็นคุณค่าของความแตกต่าง
ด้านที่ 3 พัฒนาการทางอารมณ์
1) ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
2) การควบคุมอารมณ์ตนเอง
3) สมรรถนะของตนเอง
ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
1) ความจำ
2) การสร้างหรือพัฒนาความคิด (ที่เป็นการคิดเบื้องต้น)
3) ตรรกวิทยา และความมีเหตุผล
4) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5) ความตั้งใจจดจ่อ
6) การคิดด้านคณิตศาสตร์
7) ความเข้าใจปรากฏการณ์ และวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
8) ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
9) มลภาวะและการรักษาสิ่งแวดล้อม
10) ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ
ด้านที่ 5 พัฒนาการทางภาษา
1) การเข้าใจและการใช้ภาษา
2) การเข้าใจและการใช้ภาษา (การเรียงคำให้เป็นประโยค)
3) ความเข้าใจและการใช้ภาษา (ด้านความเข้าใจภาษา)
4) การสื่อความหมาย (ด้านการพูด)
5) การสื่อความหมาย (ด้วยท่าทาง และสัญลักษณ์)
6) การอ่าน
7) การเขียน
ด้านที่ 6 พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม
1) การมีวินัยในตนเอง
2) การพัฒนาเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบชั่วดี
ด้านที่ 7 พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
1) ศิลปะการแสดงดนตรีและการเต้นตามดนตรี
2) ศิลปะการแสดง (การละคร)
3) ศิลปะการแสดง (ทัศนศิลป์)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
          3 ปี – วิ่งและหยุดเองได้
          4 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
          5 ปี – เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
          3 ปี – พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
          4 ปี – ช่วยเหลือเพื่อน
          5 ปี – ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง : ความทรงจำ
          3 ปี – ท่องคำคล้องจองสั้น ๆ ได้
          4 ปี – บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
          5 ปี – บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          3 ปี – แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
          4 ปี – แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
          5 ปี – แก้ปัญหาได้หลายวิธี และรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะสม

**ความสำคัญ**

·          ความสำคัญทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น

·         สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น

·           ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน “คู่มือช่วยแนะแนว”

·         ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น

·         ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายร่วมกันและประสานประโยชน์เพื่อเด็กได้ดียิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)
v
v
v

*//ไม่มีการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในสัปดาห์นี้//*



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น