วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย 
วันจันทร์ ที่  14 มีนาคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)



กิจกรรมในวันนี้
  • "การเคลื่อนไหวพื้นฐาน" แบบผู้นำผู้ตาม เพิ่มเติมให้นักศึกษาฝึกทดลองสมมติบทบาทความเป็นครู - เด็ก ให้นักศึกษาคนใดที่ยังไม่ออก
ความรู้ที่ได้รับ

   สาธิตการสอนโดยนักศึกษาที่ยังไม่ออก ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ให้นักศึกษากำหนดสัญญาณการเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ในรูปแบบผู้นำผู้ตามมีดังนี้
                  
1.กำหนดจังหวะสัญญาณ 
 “ เคาะรัวช้า ๆ”    ให้เด็กเดินเคลื่อนไหวไปตามจังหวะแบบช้าๆรอบห้อง
 “ เคาะรัวเร็ว ๆ”   ให้เด็กเดินเคลื่อนไหวไปตามจังหวะแบบเร็วๆรอบห้อง
 “ เคาะ 2 ครั้ง”       ติดกันให้หยุดเคลื่อนไหวทันที 
ในช่วงนี้ให้เด็กนั่งฟัง และทำความเข้าใจข้อตกลงพร้อมกับทวน 1 รอบ เพื่อความแม่นยำของการเคลื่อนไหว เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2.เข้าสู่การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม  ให้เด็กจับมือกันกลับมานั่งเป็นวงกลม ครูขออาสาสมัครเด็ก 1 คน
- ออกมานำท่าทางแล้วเพื่อน ๆ ทำเป็นแบบอย่าง หมุนเวียนจนครบทุกคน
3.ให้เด็กนั่งเป็นแถวตอน นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
 เช่น นอนราบไปกับพื้นฟังคำบรรยายจาครูนั่งสมาธิบีบนวดส่วนต่างๆสลับกับทำให้เพื่อน เป็นต้น


ภาพบรรยากาศระหว่างที่สวมบทบาท นักเรียน-ครู








การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

        การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม การนำไปประยุกต์ใช้ คือ วิธีการกำหนดสัญญาณก่อนเริ่มกิจกรรมผู้นำผู้ตามสามารถที่จะออกแบบแนวทางที่หลากหลายได้นอกจากการ เดินไปรอบ ๆ ห้อง เปลี่ยนเป็น การกระโดด การยืด การควบม้า การเดิน รวมถึงการทำท่าทางเป็นสัตว์ 
       การเคาะจังหวะจากเดิม เคาะ 1 ครั้ง ก้าว 1 ก้าว / เคาะ 2 ครั้ง ก้าว 2 ก้าว เปลี่ยนเป็น เคาะจังหวะแบบช้า ๆ เคาะจังหวะแบบเร็วๆ ให้เด็กเคลื่อนไหวเป็นสัตว์ไปรอบห้องตามเสียงจังหวะที่ได้ยิน นำไปใช้ในการสอนก่อนเริ่มกิจกรรมเคลื่อนไหวเด็กจะเกิดความรู้สึกตื่นเต้น อยากทำกิจกรรมในครั้งต่อไป เมื่อผู้สอนมีวิธีการนำเข้ากิจกรรมที่หลากหลาย

 การประเมินผล

ประเมินตนเองตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งโดยไม่เขินอายพยายามมั่นทบทวนเมื่อถึงเวลาที่ใช้ในการสอนจะได้ไม่ติดขัดระหว่างที่ทำการสอน ต้องใช้การฝึกฝนและทบทวนอยู่เสมอเพราะเป็นคนขี้ลืม 

ประเมินเพื่อน เพื่อน ๆ ทุกคนสนุกสนานและขำขัน ตลอดการทำการสอนแต่ทุกคนก็ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการออกไปทำกิจกรรมสวมบทบาท ครู-นักเรียน ได้ดีและตลอดการทำกิจกรรม สลับปรับเปลี่ยนกันออกไปทั้งสนุกและัวเราะไปตาม ๆ กัน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย รวมทั้งให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจโดยง่าย ทำผิดทำถูกอาจารย์ก็ช่วยชี้แนะ ไม่ถือโทษโกธรนักศึกษา

วันพฤหัสบดี ที่  17 มีนาคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.
(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)

กิจกรรมในวันนี้
  • "การเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย" 
ความรู้ที่ได้รับ

ขั้นตอนการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย ในรูปแบบตามคำบรรยาย มีดังนี้
1.กำหนดจังหวะสัญญาณ 
 “ เคาะรัวช้า ๆ”    ให้เด็กเดินเคลื่อนไหวไปตามจังหวะแบบช้าๆรอบห้อง
 “ เคาะรัวเร็ว ๆ”   ให้เด็กเดินเคลื่อนไหวไปตามจังหวะแบบเร็วๆรอบห้อง
 “ เคาะ 2 ครั้ง”       ติดกันให้หยุดเคลื่อนไหวทันที 
ในช่วงนี้ให้เด็กนั่งฟัง และทำความเข้าใจข้อตกลงพร้อมกับทวน 1 รอบ เพื่อความแม่นยำของการเคลื่อนไหว เรียกว่า การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2.เข้าสู่การเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย  ให้เด็กหาพื้นที่ของตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชนระหว่างทำกิจกรรมเมื่อเด็กได้พื้นที่ของตนเอง ครูจะบรรยายเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยในการเรียนรู้ของวันนั้น เช่นเรียนหน่วยสัตว์ ก็บรรยายภาพ สถานที่ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสัตว์ สร้างเรื่องราวให้เด็กสนุกและคล้อยตามคำบรรยายของเรารวมทั้งให้เด็กได้ใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการเคลื่อนไหวท่าทางต่าง ๆ ที่หลากหลายอิงจากสถานการณ์ที่ครูผู้สอนกำลังบรรยาย 
ยกตัวอย่างสถานการณ์
"เด็กเดินเข้าไปไหนสวนสัตว์ เด็ก ๆ เห็นสัตว์เยอะแยะมาก ๆ เลย เด็กเลยอยากเลียนแบบท่าทางของม้า 
เด็กกระโดดเป็นม้าแล้ววิ่งไปรอบ ๆ แล้วเด็กก็เดินไปเห็นผีเสื้อเกาะอยู่บนดอกไม้
แล้วเด็กจึงทำท่าทางเหมือนผีเสื้อทำกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า" 
เมื่อถึงท่อนที่กำลังจะจบต้องเป็นบทที่รู้สึกว่าเด็กผ่อนคลาย ได้พักเหนื่อย และนำเข้าสู่กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยเชื่อมโยงเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กัน
3.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากทำกิจกรรม  โดยการนอนราบไปกับพื้นยืดลำตัวไปมา ทำท่าค้างไว้แล้วนับ 1-10  เป็นต้น


อาจารย์ขออาสาสมัครสาธิตเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย
อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับการกำหนดสัญญาญ

  เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นอาจารย์ให้นักศึกษาลองเขียนแบบร่างคำบรรยายของตนเอง
ให้สอดคล้องหน่วยที่ใช้ในการสอน ซึ่งดิฉันเลือกเป็นหน่วย ดอกไม้ เนื้อหา ดังนี้
"เช้าอาทิตย์ส่องแสงเด็กนอนอยู่บนที่นอนที่แสนนุ่ม เด็กๆ ตื่นขึ้นพร้อมกับได้กลิ่นของดอกไม้ เด็กเดินไปดูดอกไม้ที่หน้าบ้าน ดอกไม้สีขาว กลิ่นหอมอ่อนๆ เด็กว่าดอกไม้ชนิดนี้คือดอกไม้อะไรเอ่ย ?? เด็กก้มลงไปดมดอกไม้ใกล้ ๆ แล้วเด็กก็นำดอกไม้ไปให้คุณแม่ ช่วยคุณแม่ปลูกดอกไม้ที่นำมา แล้วเด็กๆก็กลับเข้าบ้าน อาบน้ำ เตรียมพร้อมเพื่อไปโรงเรียน"

จากนั้นเมื่อทุกคนได้เนื้อเรื่องที่ตนเองร่างไว้
อาจารย์ให้ออกไปสาธิตการสอนแบบตามคำบรรยายค่ะ




ครั้งแรกไม่ได้ตั้งใจเอาฮ่า ^^
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

        การเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย ในครั้งนี้การนำไปใช้ คือ ในระหว่างการสอนครูผู้สอนควรที่จะฝึกฝนวิธีการ ขั้นตอนให้คุ้นชิน จำเรื่องราวที่จะสอนให้ดี ทุกครั้งที่จบการบรรยายควรจบให้เรื่องฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ เช่น เด็กนอนไปที่ตักคุณแม่ คุณแม่ก็ค่อยโอบกอดเด็ก คุณแม่ร้องเพลงกล่อมเด็ก ๆ จนหลับไป เป็นต้น

 การประเมินผล

ประเมินตนเองตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งโดยไม่เขินอาย จากการสวมบทบาทเป็นครูผู้สอนในการเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยายตนเองยังต้องปรับปรุงและมั่นฝึกฝนลำดับขั้นการสอนให้มีความแม่นยำ และชัดเจน ฝึกการพูดที่จะสื่อสารเรื่องราวให้คนฟังรู้เรื่อง การเขียนแบบร่างไม่เชื่อมโยงระหว่างท่อนจบทำให้ติดขัดหลายขั้นตอน

ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจ ตรงต่อเวลา และเป็นระเบียบเรียบร้อยดีการสอนในวันนี้ของเพื่อน ๆ ทุกคนสนุกสนานและขำขันกับการบรรยายที่แปลกใหม่ในเอกลักษณ์ของแต่ละคนซึ่งเป็นครั้งแรกในการสอนรูปแบบตามคำบรรยายผิดถูกบ้างไม่เป็นไร ทุกคนก็สนุกและเฮฮา

ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษาทำความเข้าใจโดยง่าย จากเคล็ดไม่ลับจากอาจารย์ในการเคลื่อนไหวแบบตามคำบรรยาย วิธีการที่จะดึงดูดความสนใจระหว่างที่ให้เด็กเคลื่อนไหว และอีกหลากหลาย



วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

      รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย             อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันจันทร์ ที่ มีนาคม2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**ไม่มีการเรียนการสอน**

วันพฤหัสบดี ที่  10 มีนาคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.

(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)

กิจกรรมในวันนี้คือ
  • อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย แบบวิธี การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  • สาธิตการสอน"การเคลื่อนไหวพื้นฐาน"โดยนักศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย แบบวิธี การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ขั้นการสอนมี 3 ขั้นดังนี้  
     1. ให้เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยให้เด็กออกมาทำท่า เช่น หมุนหัวไหล่ กระโดดตบ ก่อนเริ่มกิจกรรม คนละ 3 -5 คน คนละ 10 ท่า
     2. เด็ก ๆ ฟัง การกำหนดสัญญาณเคาะจังหวะจากคุณครู เช่น 
"ถ้าครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะจังหวะ 1 ครั้ง) ให้เด็ก ๆ ไปข้างหน้า 1 ก้าว 
ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะจังหวะ 2 ครั้ง) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว 
ถ้าครูเคาะจังหวะรัว ๆ (ครูเคาะจังหวะรัว ๆ ) ให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง อย่างรวดเร็ว แล้วถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งต่อเนื่องกัน แสดงว่าให้เด็ก หยุด!! เด็กเข้าใช่ไหมจ้ะ^^"**
     3. เมื่อเด็กเข้าใจข้อตกลงให้เด็ก ๆ ลงขึ้น หาพื้นที่ของตนเอง กลางแขนออกว่าชนกับเพื่อนข้าง ๆ หรือเปล่า
     4. ระหว่างเคาะจังหวะครูสามารถให้เด็กเปลี่ยนการเดินเป็นสัตว์ เช่น เคาะจังหวะ 1 ครั้ง กระต่ายกระโดด 1 ครั้ง เคาะ 2 ครั้ง กระต่ายกระโดด 2 ครั้ง ตามเสียงจังหวะที่ครูเป็นคนกำหนด
     5. ครูให้เด็กผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการนวดขา นวดแขน สลับนวดให้เพื่อน

  • สาธิตการสอน"การเคลื่อนไหวพื้นฐาน"โดยนักศึกษา
                      สร้างข้อตกลงให้กับเด็กพร้อมกับสาธิตวิธีการเคาะจังหวะ

ที่ต้องชัดเจนไม่ทำให้เด็กสับสน


 ระหว่างเคลื่อนไหว ครูพลอยกำหนดให้เป็นกระต่าย,อีกวิธีคือให้เด็กมาอยู่กลางวง
และนำท่าทางสัตว์ที่ตนเองเลือกแล้วเพื่อนก็ทำตาม นับ 1 -10  


ผ่อนคลายหลังจากทำกิจกรรมโดยการ นวดเพื่อน,ผ่อนคลาย
โดยการฟังคำบรรยายจากครู หลับตาสักครู่แล้วกลับเข้าที่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำเอากิจกรรม การเคลื่อนไหวพื้นฐาน มาใช้ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เรียนได้ เช่น เรียนหน่วยสัตว์ ครูกำหนดสัญญาณให้เด็กทำท่าทางเป็นสัตว์พร้อมกับเคลื่อนไหวท่าทางของสัตว์

 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งโดยไม่เขินอาย
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจ ตรงต่อเวลา และเป็นระเบียบเรียบร้อยดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษาทำความเข้าใจโดยง่าย

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย
วันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**เรียนชดเชยวันที่ 11 เมษายน 2559**
กิจกรรมในวันนี้คือ
  • ประดิษฐ์เคื่องเคาะจังหวะจากเศษวัสดุเหลือใช้
  • สอบกลางภาค
  • ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ความรู้ที่ได้รับ
    ประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะจากเศษวัสดุเหลือใช้   การคิดสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองออกแบบเครื่องเคาะจังหวะในแบบของเราจากวัสดุใกล้ตัวหรือเศษวัสดุเหลือใช้นำมาคิดดัดแปรงให้เป็นเครื่องมือประกอบจังหวะ ทั้งนี้เด็กปฐมวัยสามารถลงมือทำได้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้แต่มีผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

                                                              เครื่องเคาะจังหวะในรูปแบบต่าง ๆ

                                                      เครื่องเคาะจังหวะที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ^^

อุปกรณ์ 
1.ไหมพรม 
2.ขวดน้ำยี่ห้อใดก็ได้ 
3.เม็ดมะขาม 
4.เม็ดถั่วเขียว 
5.ฝาน้ำอัดลม
6.เมจิสีต่าง ๆ
7ลูกตาปลอม 
8.กาว

วิธีทำ
1. ออกแบบเครื่องเคาะจังหวะตามจินตนาการของเราเองให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ที่มีอยู่
2. ใช้ขวดที่มีใส่เม็ดถั่วเขียวผสมฝาขวด จะทำให้เกิดเสียงที่หลากหลายเมื่อเราเขย่า
3. ทดลองเสียงที่ตนเองชอบที่สุด เมื่อเลือกได้จึงทำตามตกแต่ง
4. ตกแต่งเครื่องเคาะจังหวะตามใจชอบ


วันเสาร์ ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**ไม่การเรียนการสอนเนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค**




      อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                            วันพุธ ที่ มีนาคม 2559 เวลา 07.30 - 16.00 น.


                                                   ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
      เมื่อทุกคนไปถึงโรงเรียนครบทุกคนได้รับการอนุเคราะห์จากคณะวิทยากรทางโรงเรียนได้จัดเตรียมดูแลอย่างดีให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับโรงเรียนแห่งนี้รวมถึงการกล่าวต้อนรับจากผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยจากนั้นแบ่งนักศึกษาทุกคนเป็น 3 กลุ่ม ศึกษาดูการเรียนการสอนของแต่ละดับสายชั้นอนุบาลของแต่ละชั้นให้ทั่วถึง
กิจกรรมในช่วงเช้า

 คณะครูช่วยมาเป็นวิทยากรให้คำแนะนำครั้งนี้
กล่าวแนะนำบุคลากรและเรียนเชิญผู้อำนวยการกล่าวคำต้อนรับแก่นักศึกษา

นายสุวรรณ  ยะรังวงษ์ 
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 
อาจารย์ผู้สอนกล่าวขอบคุณทางโรงเรียน
อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด 

ห้องที่ไปศึกษา

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เกิดขึ้นระหว่าง
การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 
*เคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน
 *เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
เป็นการผ่อนคลายหลังจากจบกิจกรรม 


ต่อมาเป็นภาพรวมของกิจกรรมสร้างสรรค์ที่่เกิดขึ้นระหว่างศึกษาดูงานรวมถึงสื่อการเล่นที่ใช้กับเด็กได้เรียนรู้ในกิจกรรมที่เรียนรู้ สื่อการเล่น



สื่อการเล่น
  

กิจกรรมในช่วงบ่าย

หลังจากที่รับประทานอาหารที่ทางโรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้ต่อมาเป็นการฟังคำบรรยายความรู้การจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนตลอดจนหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนแต่ละเทอม โดยครูศิริประภาพรรณ  ตุ้มวิจิตร 

 กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการของนักวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีความยากหลากหลายขั้นตอนกว่าจะเข้าสู่เป็น 1 ในสมาชิกของโครงการวิทยาศาสตร์มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี


ความรู้ที่ได้รับ
การสอนแบบโครงการที่มีความสอดคล้องต่อความต้องการของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลายเรื่องราวมีทักษะที่สอนสามรถนำไปใช้สอนในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้จากความต้องการของเด็กจะทำให้เด็กสนุกสนานและเปิดโลกทัศน์ที่แปลกใหม่จากประสบการณ์จริงและสถานที่จริงจากเรียนรู้แบบโครงการแต่ละหน่วย

ความประทับใจที่เกิดขึ้นขณะศึกษาดูงานที่โรงเรียน
ทางโรงเรียนให้ความอนุเคราะห์มาเป็นอย่างดีให้คำแนะนำรวมถึงการอบรมที่พูดคุยเหมือนพี่น้องกลมเกลียวทำให้การฟังคำบรรยายไม่น่าเบื่อ มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาร่วมกันแสดงความสามารถทำให้บรรยากาศ ดูรื่นรมณ์ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนดูสะอาด เด็ก ๆ ทุกคนไหว้คุณครูก่อนเข้าโรงเรียนอย่างน่าชื่นชม ตั้งใจ

 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจร่วมกิจกรรมที่ได้รับโอกาสจากคณะอาจารย์และเพื่อน ๆ สนุกกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันนี้ 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจและมากันตรงต่อเวลาที่อาจารย์นัดหมายร่วมกันนั่งฟังการอบรบในครั้งนี้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่และคณะครูโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์