วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7

รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย
วันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**เรียนชดเชยวันที่ 11 เมษายน 2559**
กิจกรรมในวันนี้คือ
  • ประดิษฐ์เคื่องเคาะจังหวะจากเศษวัสดุเหลือใช้
  • สอบกลางภาค
  • ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ความรู้ที่ได้รับ
    ประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะจากเศษวัสดุเหลือใช้   การคิดสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองออกแบบเครื่องเคาะจังหวะในแบบของเราจากวัสดุใกล้ตัวหรือเศษวัสดุเหลือใช้นำมาคิดดัดแปรงให้เป็นเครื่องมือประกอบจังหวะ ทั้งนี้เด็กปฐมวัยสามารถลงมือทำได้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้แต่มีผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

                                                              เครื่องเคาะจังหวะในรูปแบบต่าง ๆ

                                                      เครื่องเคาะจังหวะที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง ^^

อุปกรณ์ 
1.ไหมพรม 
2.ขวดน้ำยี่ห้อใดก็ได้ 
3.เม็ดมะขาม 
4.เม็ดถั่วเขียว 
5.ฝาน้ำอัดลม
6.เมจิสีต่าง ๆ
7ลูกตาปลอม 
8.กาว

วิธีทำ
1. ออกแบบเครื่องเคาะจังหวะตามจินตนาการของเราเองให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ที่มีอยู่
2. ใช้ขวดที่มีใส่เม็ดถั่วเขียวผสมฝาขวด จะทำให้เกิดเสียงที่หลากหลายเมื่อเราเขย่า
3. ทดลองเสียงที่ตนเองชอบที่สุด เมื่อเลือกได้จึงทำตามตกแต่ง
4. ตกแต่งเครื่องเคาะจังหวะตามใจชอบ


วันเสาร์ ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**ไม่การเรียนการสอนเนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค**




      อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
                            วันพุธ ที่ มีนาคม 2559 เวลา 07.30 - 16.00 น.


                                                   ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
      เมื่อทุกคนไปถึงโรงเรียนครบทุกคนได้รับการอนุเคราะห์จากคณะวิทยากรทางโรงเรียนได้จัดเตรียมดูแลอย่างดีให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับโรงเรียนแห่งนี้รวมถึงการกล่าวต้อนรับจากผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยจากนั้นแบ่งนักศึกษาทุกคนเป็น 3 กลุ่ม ศึกษาดูการเรียนการสอนของแต่ละดับสายชั้นอนุบาลของแต่ละชั้นให้ทั่วถึง
กิจกรรมในช่วงเช้า

 คณะครูช่วยมาเป็นวิทยากรให้คำแนะนำครั้งนี้
กล่าวแนะนำบุคลากรและเรียนเชิญผู้อำนวยการกล่าวคำต้อนรับแก่นักศึกษา

นายสุวรรณ  ยะรังวงษ์ 
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 
อาจารย์ผู้สอนกล่าวขอบคุณทางโรงเรียน
อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด 

ห้องที่ไปศึกษา

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เกิดขึ้นระหว่าง
การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 
*เคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน
 *เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
เป็นการผ่อนคลายหลังจากจบกิจกรรม 


ต่อมาเป็นภาพรวมของกิจกรรมสร้างสรรค์ที่่เกิดขึ้นระหว่างศึกษาดูงานรวมถึงสื่อการเล่นที่ใช้กับเด็กได้เรียนรู้ในกิจกรรมที่เรียนรู้ สื่อการเล่น



สื่อการเล่น
  

กิจกรรมในช่วงบ่าย

หลังจากที่รับประทานอาหารที่ทางโรงเรียนจัดเตรียมไว้ให้ต่อมาเป็นการฟังคำบรรยายความรู้การจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียนตลอดจนหลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนแต่ละเทอม โดยครูศิริประภาพรรณ  ตุ้มวิจิตร 

 กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการของนักวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย มีความยากหลากหลายขั้นตอนกว่าจะเข้าสู่เป็น 1 ในสมาชิกของโครงการวิทยาศาสตร์มีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี


ความรู้ที่ได้รับ
การสอนแบบโครงการที่มีความสอดคล้องต่อความต้องการของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้หลากหลายเรื่องราวมีทักษะที่สอนสามรถนำไปใช้สอนในสถานการณ์จริงได้ การเรียนรู้จากความต้องการของเด็กจะทำให้เด็กสนุกสนานและเปิดโลกทัศน์ที่แปลกใหม่จากประสบการณ์จริงและสถานที่จริงจากเรียนรู้แบบโครงการแต่ละหน่วย

ความประทับใจที่เกิดขึ้นขณะศึกษาดูงานที่โรงเรียน
ทางโรงเรียนให้ความอนุเคราะห์มาเป็นอย่างดีให้คำแนะนำรวมถึงการอบรมที่พูดคุยเหมือนพี่น้องกลมเกลียวทำให้การฟังคำบรรยายไม่น่าเบื่อ มีกิจกรรมที่ให้นักศึกษาร่วมกันแสดงความสามารถทำให้บรรยากาศ ดูรื่นรมณ์ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนดูสะอาด เด็ก ๆ ทุกคนไหว้คุณครูก่อนเข้าโรงเรียนอย่างน่าชื่นชม ตั้งใจ

 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจร่วมกิจกรรมที่ได้รับโอกาสจากคณะอาจารย์และเพื่อน ๆ สนุกกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันนี้ 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจและมากันตรงต่อเวลาที่อาจารย์นัดหมายร่วมกันนั่งฟังการอบรบในครั้งนี้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่และคณะครูโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น