วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

      รายวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวเด็กปฐมวัย             อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน และ อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
วันจันทร์ ที่ มีนาคม2559 ห้อง 224 เวลา 10.30 - 12.30 น.
(ภาคทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนกฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด)
**ไม่มีการเรียนการสอน**

วันพฤหัสบดี ที่  10 มีนาคม 2559 ห้อง 223 เวลา 11.30 - 14.30 น.

(ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้สอนตฤณ  แจ่มถิน)

กิจกรรมในวันนี้คือ
  • อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย แบบวิธี การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  • สาธิตการสอน"การเคลื่อนไหวพื้นฐาน"โดยนักศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ
  • อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย แบบวิธี การเคลื่อนไหวพื้นฐาน ขั้นการสอนมี 3 ขั้นดังนี้  
     1. ให้เด็กเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยให้เด็กออกมาทำท่า เช่น หมุนหัวไหล่ กระโดดตบ ก่อนเริ่มกิจกรรม คนละ 3 -5 คน คนละ 10 ท่า
     2. เด็ก ๆ ฟัง การกำหนดสัญญาณเคาะจังหวะจากคุณครู เช่น 
"ถ้าครูเคาะจังหวะ 1 ครั้ง (เคาะจังหวะ 1 ครั้ง) ให้เด็ก ๆ ไปข้างหน้า 1 ก้าว 
ถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้ง (เคาะจังหวะ 2 ครั้ง) ให้เด็ก ๆ ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว 
ถ้าครูเคาะจังหวะรัว ๆ (ครูเคาะจังหวะรัว ๆ ) ให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ห้อง อย่างรวดเร็ว แล้วถ้าครูเคาะจังหวะ 2 ครั้งต่อเนื่องกัน แสดงว่าให้เด็ก หยุด!! เด็กเข้าใช่ไหมจ้ะ^^"**
     3. เมื่อเด็กเข้าใจข้อตกลงให้เด็ก ๆ ลงขึ้น หาพื้นที่ของตนเอง กลางแขนออกว่าชนกับเพื่อนข้าง ๆ หรือเปล่า
     4. ระหว่างเคาะจังหวะครูสามารถให้เด็กเปลี่ยนการเดินเป็นสัตว์ เช่น เคาะจังหวะ 1 ครั้ง กระต่ายกระโดด 1 ครั้ง เคาะ 2 ครั้ง กระต่ายกระโดด 2 ครั้ง ตามเสียงจังหวะที่ครูเป็นคนกำหนด
     5. ครูให้เด็กผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการนวดขา นวดแขน สลับนวดให้เพื่อน

  • สาธิตการสอน"การเคลื่อนไหวพื้นฐาน"โดยนักศึกษา
                      สร้างข้อตกลงให้กับเด็กพร้อมกับสาธิตวิธีการเคาะจังหวะ

ที่ต้องชัดเจนไม่ทำให้เด็กสับสน


 ระหว่างเคลื่อนไหว ครูพลอยกำหนดให้เป็นกระต่าย,อีกวิธีคือให้เด็กมาอยู่กลางวง
และนำท่าทางสัตว์ที่ตนเองเลือกแล้วเพื่อนก็ทำตาม นับ 1 -10  


ผ่อนคลายหลังจากทำกิจกรรมโดยการ นวดเพื่อน,ผ่อนคลาย
โดยการฟังคำบรรยายจากครู หลับตาสักครู่แล้วกลับเข้าที่

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำเอากิจกรรม การเคลื่อนไหวพื้นฐาน มาใช้ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ที่เรียนได้ เช่น เรียนหน่วยสัตว์ ครูกำหนดสัญญาณให้เด็กทำท่าทางเป็นสัตว์พร้อมกับเคลื่อนไหวท่าทางของสัตว์

 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งโดยไม่เขินอาย
ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจ ตรงต่อเวลา และเป็นระเบียบเรียบร้อยดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษาทำความเข้าใจโดยง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น